Find us on facebook youtube

IVF

Q: ข้อมูลส่วนนี้กำลังอยู่ในระหว่างการจัดทำข้อมูล

A: โปรดเข้าชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้งเร็วๆ นี้ เพื่อดูข้อมูลในส่วนนี้

หรือดูข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ โดยเลือกเปลี่ยนภาษาตรงเมนูด้านบน แล้วไปที่เมนู FORUM > FAQs

ขอขอบคุณและขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ค่ะ

Q: จะทราบได้อย่างไรว่าคุณและคู่สมรสจะมีบุตรยากหรือไม่?

A: ภาวะมีบุตรยาก คือ การที่คู่สมรสไม่สามารถตั้งครรภ์ได้เองหลังจากมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอโดยไม่ได้คุมกำเนิด ในระยะเวลา 1 ปี คำจำกัดความข้างต้นคือความหมายที่เข้าใจและใช้กันโดยทั่วไป แต่ทางเราคิดว่าคำจำกัดความนี้ควรจะเพิ่มเติมว่าคู่สมรสควรจะต้องการมีบุตรและพยายามที่จะมีบุตรในช่วงระยะเวลาดังกล่าว และการมีเพศสัมพันธ์ก็ควรมีในวันที่ใกล้หรือมีการการตกไข่ นอกจากนี้หากเป็นคู่สมรสที่ฝ่ายหญิงเริ่มมีอายุมากขึ้น อาจจะเริ่มการตรวจวินิจฉัยภาวะมีบุตรยากหลังจากที่พยายามมีบุตรเอง ในระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งสั้นกว่าคู่สมรสทั่วไป อ่านเพิ่มเติมได้ที่ natural conception.

Q: ภาวะมีบุตรยากไม่ค่อยมีใครเป็นและถ้าเป็นก็มักเกิดจากผู้หญิงจริงหรือ ?

A: ภาวะมีบุตรยากพบได้บ่อยกว่าที่คนทั่วไปคิด เรามักคิดกันว่าการมีบุตรเป็นเรื่องธรรมชาติ และการเป็นหมันไม่ใช่ภาวะทั่วไปที่พบได้บ่อย แต่ความเป็นจริงแล้วภาวะมีบุตรยาก(หรือที่ทั่วไปเรียกว่าเป็นหมัน) เป็นภาวะที่พบได้บ่อย คือประมาณ ความสามารถในการตั้งครรภ์ของคู่สมรสขึ้นกับหลายปัจจัยทั้งจากฝ่ายชายและฝ่ายหญิง โดยฝ่ายชายเป็นสาเหตุของภาวะมีบุตรยากถึง ของคู่สมรสที่มีปัญหานี้เลยทีเดียว Read more about the causes and investigation of infertility.

Q: ภาวะมีบุตรยากพบมากขึ้นในปัจจุบันจริงหรือ?

A: อาจจะขัดกับความรู้สึกของคนทั่วไป แต่ภาวะมีบุตรยากไม่ได้เพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนเลย อุบัติการการเกิดภาวะนี้มีเท่าๆเดิมมามากกว่า 3 ทศวรรษแล้ว แต่สิ่งที่เปลี่ยนไป คือ ขีดความสามารถในการตรวจหาสาเหตุและการรักษาภาวะมีบุตรยากที่ก้าวหน้าขึ้นแบบก้าวกระโดด การพัฒนา 3 อย่างที่มีผลอย่างมากต่อการรักษาภาวะมีบุตรยากก็คือ ข้อหนึ่ง การค้นพบวิธีการปฏิสนธินอกร่างกาย หรือที่เราเรียกกันว่าเด็กหลอดแก้ว (in vitro fertilization; IVF) และเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ต่างๆ (assisted reproductive technologies; ARTs) เทคโนโลยีเหล่านี้เพิ่มโอกาสให้แก่ผู้มีบุตรยากอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มที่สาเหตุจากท่อนำไข่อุดตันและมีความผิดปกติของอสุจิจากฝ่ายชาย ข้อสอง ผลจากสภาวะทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้หญิงต้องการมีบุตรเมื่ออายุมากขึ้นกว่าสมัยก่อน ซึ่งเมื่ออายุมากขึ้นความสามารถในการตั้งครรภ์ก็จะลดลงตามธรรมชาติ จึงทำให้เกิดมีบุตรยากขึ้น และข้อสาม ทัศนคติของประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยากเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น  และเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ง่ายขึ้น เกิดจากความก้าวหน้าของการรักษาร่วมกับความกังวลใจเกี่ยวกับความสามารถในการมีบุตร  ส่งผลให้สื่อต่างๆสนใจเรื่องเหล่านี้มากขึ้นและมีการนำเสนออย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนทั่วไปรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยากมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีอินเตอร์เนท ที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ไม่ยากเหมือนเมื่อก่อน และทางสถานบริการด้านมีบุตรยากเองก็พยายามเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผ่านทางอินเตอร์เนทและ social networks ต่างๆ ทุกเหตุผลที่ว่ามาจึงเป็นสาเหตุให้คู่สมรสที่มีภาวะมีบุตรยากในปัจจุบันนี้สามารถหาข้อมูลคำแนะนำ และเข้ารับการตรวจประเมินและรักษามากขึ้นกว่าแต่ก่อน และเรื่องมีบุตรยากก็กลายเป็นเรื่องที่สังคมยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คู่สมรสเองไม่รู้สึกกระอักกระอ่วนใจในการมารับการรักษา

Q: หากการพยายามมีบุตรเองแล้วไม่สำเร็จ จะมีทางเลือกอะไรบ้าง?​

A: การรักษาภาวะมีบุตรยากมีวิธีการที่หลากหลาย ตั้งแต่วิธีการง่ายๆเช่น การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการนับวันที่เหมาะสมแก่การมีเพศสัมพันธ์ หรือการใช้ยาเพื่อกระตุ้นรังไข่ การฉีดน้ำเชื้ออสุจิสู่โพรงมดลูก ไปจนกระทั่งถึงวิธีการที่ทำยากและซับซ้อน อย่างการปฏิสนธินอกร่างกายหรือการทำเด็กหลอดแก้วนั่นเอง ในอดีต การผ่าตัดก็ถือเป็นการรักษาสำหรับผู้ที่มีปัญหาความผิดปกติบางอย่าง แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่นิยม เนื่องจากการทำปฏิสนธินอกร่างกายมีการพัฒนามากขึ้น  
อ่านเพิ่มเติมที่ the choices of infertility treatments.

Q: จะรู้ได้อย่างไรว่าจะต้องรักษาด้วยการทำเด็กหลอดแก้วหรือไม่?

A: โดยทั่วไปการทำเด็กหลอดแก้ว (การปฏิสนธินอกร่างกาย ; IVF) มักเป็นเป็นวิธีที่เก็บไว้สำหรับผู้ที่ใช้วิธีอื่นๆแล้วไม่ได้ผล อย่างไรก็ตาม มีภาวะโรคบางอย่างที่การทำ IVF เลยตั้งแต่ต้นถือเป็นวิธีการมาตรฐาน โดยไม่ต้องใช้วิธีอื่นๆก่อน
อ่านเพิ่มเติมที่  IVF and when it is indicated.  

Q: ทำอย่างไรจึงจะได้รับการรักษาด้วยวิธีเด็กหลอดแก้ว ?

A: ปกติแล้วแพทย์ผู้ดูแลจะเป็นคนแนะนำการทำเด็กหลอดแก้วเมื่อมีข้อบ่งชี้ที่เหมาะสม โดยจะส่งตัวเพื่อมารับการรักษาต่อพร้อมกับจดหมายแนบ ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับการผลการตรวจและวิธีการรักษาที่เคยได้รับมาก่อน หรือหากไม่ได้รับการส่งตัวมา ท่านสามารถกรอกข้อมูลการตรวจรักษาที่ผ่านมา ในแบบฟอร์มของเรา ที่นี่ short or detailed appointment form  
ก่อนเริ่มการรักษาด้วย IVF จะมีการทบทวนประวัติการรักษาทั้งหมดที่ผ่านมา และให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการรักษาต่างๆ ที่เหมาะสม เพื่อให้คู่สมรสเลือกวิธีที่เหมาะกับตนเองที่สุด ดังนั้นผลการตรวจรักษาทั้งหมดที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นผลเลือด ผลเอกซเรย์ ผลอุลตร้าซาวน์ ผลการส่องกล้อง มีความสำคัญมากสำหรับการวางแผนการรักษา จึงควรนำมาด้วยในวันนัด อย่างไรก็ตามอาจมีการตรวจบางอย่างซ้ำใหม่หากมีความจำเป็น   

Q: ต้องตรวจอะไรเพิ่มเติมก่อนการทำ IVF บ้าง ?

A: เพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะได้รับการตรวจเพิ่มเติมก่อนเริ่มการรักษา การตรวจต่างๆเหล่านี้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆทั้งต่อตัวผู้ตรวจ คู่สมรส และบุตร
อ่านเพิ่มเติมที่  pre-IVF testing.  

Q: การทำเด็กหลอดแก้วมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ?

A: ค่าใช้จ่ายในการทำเด็กหลอดแก้วของแต่ละคนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปริมาณและยาที่ใช้ในการกระตุ้นรังไข่ การเลี้ยงตัวอ่อน ค่าห้องผ่าตัดที่ใช้เพื่อเก็บไข่และย้ายตัวอ่อน และการตรวจเลือดหรือตรวจอัลตร้าซาวน์เพื่อติดตามในระยะต่างๆ ถึงแม้ว่ายาต่างๆที่ใช้จะมีราคาเท่ากันทั่วโลก แต่ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับห้องผ่าตัดแตกต่างกันมาก การทำเด็กหลอดแก้ว 1 รอบ อาจมีราคาสูงถึงประมาณ 360,000 – 450,000 บาท ในประเทศตะวันตก บางที่อาจมีราคาประมาณ 180,000 – 240,000 บาท สำหรับที่กุลพัฒน์ค่าใช้จ่ายต่อรอบการรักษาอาจจะลดลงถึงประมาณ 90,000 บาท ขึ้นกับว่าต้องใช้อะไรบ้าง คุณสามารถตรวจสอบเพิ่มเติมได้ที่นี่  our price list      

Q: การทำเด็กหลอดแก้วรวมอยู่ในประกันต่างๆหรือไม่ หากไม่สามารถจ่ายเองได้จะทำอย่างไร?

A: ประกันต่างๆมักจะไม่ครอบคลุมการรักษาเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยาก คุณอาจต้องตรวจสอบกับทางบริษัทประกันของคุณเพื่อความถูกต้อง 
ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายของการทำวิธีเด็กหลอดแก้วมักจะมีราคาแพงมากเกินไปสำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่ แต่ทางกุลพัฒน์เชื่อว่า หากผู้ป่วยเข้าถึงได้มากขึ้น วิธีการนี้ก็จะเป็นที่นิยมมากขึ้น ดังนั้นจึงพยายามตั้งราคาให้คนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ แต่ถ้าหากราคามาตรฐานของเรายังคงสูงเกินไป ก็ยังมีวิธีการอื่นๆเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการทำเด็กหลอดแก้วได้อีก โดยในกรณีนี้คู่สมรสจะต้องเข้ารับการปรึกษากับทีมผู้ดูแลก่อนเริ่มการรักษา เพื่อเลือกวิธีการต่างๆที่เหมาะสม