Find us on facebook youtube

รูปแบบการดำเนินชีวิตกับภาวะเจริญพันธุ์

รูปแบบการดำเนินชีวิตกับภาวะเจริญพันธุ์

ภาวะเจริญพันธุ์คือ ความสามารถที่จะมีบุตรหรือ ตั้งครรภ์ได้ตามธรรมชาติมีการวิจัยแสดงให้เห็นว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตมีผลกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์ และอาจเกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยากอีกด้วย แม้ว่าทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงไม่มีปัญหาทางสุขภาพ  โอกาสในการตั้งครรภ์ ของแต่ละรอบของการตกไข่ก็ขึ้นกับอิทธิพลจากหลายปัจจัย เช่น อายุ ฯลฯ  ดังนั้นการค้นหาวิธีที่สามารถนำมาใช้ส่งเสริม ปรับปรุง และ ป้องกัน ภาวะเจริญพันธุ์ได้ จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ  โดยสามารถนำไปใช้กับคู่ที่เพิ่งตัดสินใจจะมีบุตร รวมถึงผู้ที่พยายามมีบุตรมาเป็นเวลาหลายเดือน หรือผู้ที่ประสบกับปัญหาภาวะมีบุตรยากแล้วอีกด้วย

รูปแบบการดำเนินชีวิตที่ส่งผลดีต่อภาวะเจริญพันธุ์

การควบคุมน้ำหนัก สำหรับผู้ชายและผู้หญิง การที่มีปริมาณไขมันในร่างกายมาก ( น้ำหนักมากเกินเกณฑ์) อาจจะรบกวนการทำงานของฮอร์โมนของระบบสืบพันธุ์  ในผู้ชาย จะส่งผลให้ปริมาณตัวอสุจิลดลง และตัวอสุจิที่ผิดปกติมีเปอร์เซ็นต์เพิ่มมากขึ้น สำหรับผู้หญิงจะส่งผลให้เกิดการไม่การตกไข่ และเกิดความผิดปกติของรอบประจำเดือน และสำหรับผู้หญิงที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ อาจจะมีผลเกี่ยวกับเรื่องของการหยุดการตกไข่อีกด้วย

•    การบริโภคผลไม้และผักในปริมาณเพียงพอ อาหารกลุ่มนี้มีสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก ซึ่งอาจช่วยในการปรับปรุงคุณภาพของตัวอสุจิ   นอกจากนั้นยังช่วยควบคุมน้ำหนักและสร้างเสริมร่างกายให้แข็งแรงอีกด้วย

กุลพัฒน์การแพทย์ สหคลินิก

•    การจัดการความเครียด ความเครียดเป็นตัวแทรกแซงการทำงานของฮอร์โมนของระบบสืบพันธุ์  ดังนั้นจึงสามารถส่งผลต่อทั้งการผลิตตัวอสุจิและการตกไข่ นอกจากนี้ความเครียดยังทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลงอีกด้วยอีกด้วย (อ่านเพิ่มเติมที่-รูปแบบการดำเนินชีวิตที่ควรหลีกเลี่ยง)

•    การออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีสำหรับสุขภาพทั้งด้านการการเจริญพันธุ์และสุขภาพโดยรวม  อย่างไรก็ตามควรจะหลีกเลี่ยงการออกกำลังหักโหมมากจนเกินไป (อ่านเพิ่มเติมที่-รูปแบบการดำเนินชีวิตที่ควรหลีกเลี่ยง)

•    วิตามิน ในรายที่รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนอยู่แล้ว อาหารเสริมก็ไม่มีความจำเป็น อย่างไรก็ตาม วิตามินอี และวิตามินซี มีความสำคัญสำหรับการผลิตและการทำงานของตัวอสุจิ เช่นเดียวกันในผู้หญิงวางแผนจะมีบุตรก็ควรได้้รับกรดโฟลิคทุกวัน เพราะสามารถป้องกันความพิการแต่กำเนิดบางอย่างได้ (แต่ไม่ได้ช่วยเรื่องปรับปรุงภาวะเจริญพันธุ์)

กุลพัฒน์การแพทย์ สหคลินิก

รูปแบบการดำเนินชีวิตที่ควรจะหลีกเลี่ยง

•    การสูบบุหรี่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสูบบุหรี่ปริมาณมาก สำหรับผู้หญิงที่สูบบุหรี่ปริมาณมากมักจะเจอปัญหาความล้มเหลวของรังไข่ก่อนวัยอันควร (หมดประจำเดือน) และการเสื่อมของไข่ในรังไข่ ในอายุน้อยกว่าที่ควรเป็น สารนิโคตินและสารเคมีอื่นๆในบุหรี่ ยังรบกวนการผลิตเอสโตรเจนอีกด้วย สำหรับผู้ชายบุหรี่ทำให้อัตราของเซลล์อสุจิที่รูปร่างผิดปกติหรือเคลื่อนไหวช้าเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การใช้ยาสูบก็อาจเป็นสาเหตุทำให้ปริมาณของตัวอสุจิลดลงได้เช่นกัน การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของ ดีเอ็นเอ (สารพันธุกรรมในโครโมโซม) ผิดปกติในตัวอสุจิและไข่ ซึ่งส่งผลให้เกิดการแท้งมากขึ้น และอาจจะเป็นปัญหาต่อพัฒนาการของทารกในภายหลังอีกด้วย

กุลพัฒน์การแพทย์ สหคลินิก

•    การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับผู้หญิงที่ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากมักจะมีความเสี่ยงของความผิดปกติในการตกไข่มากขึ้น และบางผลงานวิจัยพบว่า แม้จะเป็นการดื่มปริมาณน้อยก็อาจมีผลลดโอกาสของการตั้งครรภ์ได้   สำหรับผู้ชายการดื่มปริมาณมากจะลดคุณภาพและปริมาณของตัวอสุจิ    หากมีความจำเป็นต้องดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็ควรจะจำกัดปริมาณการดื่มของตนเองไม่ให้มากเกินไป

การบริโภคคาเฟอีนมากเกินไป คาเฟอีนปริมาณมากอาจจะมีผลต่อการผลิตเอสโตรเจนและอาจทำให้เกิดภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือ endometriosis เพื่อให้ภาวะเจริญพันธุ์เป็นปกติ สำหรับผู้หญิงควรจะจำกัดจำนวนของคาเฟอีนในอาหารไม่ให้เกินปริมาณของคาเฟอีนหกแก้วกาแฟต่อวัน (คาเฟอีนประมาณ900 มิลลิกรัม)   ซึ่งปริมาณดังกล่าวรวมถึงคาเฟอีนในกาแฟ ชา ช็อคโกแลต  โซดา และเครื่องดื่มให้พลังงานด้วย

กุลพัฒน์การแพทย์ สหคลินิก

•    ความเครียดความทุกข์ ความกังวล และภาวะซึมเศร้า เกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยากทั้งในเพศชายและหญิง และทำให้อัตราการตั้งครรภ์ลดน้อยลง  แต่ในทางกลับกัน ภาวะมีบุตรยากและการรักษาเองก็อาจจะก่อให้เกิดความเครียดได้เช่นกัน (บางครั้งความเครียดอาจจะไม่ใช่สาเหตุ แต่เป็นผลจากการมีบุตรยาก)  ฮอร์โมนจากความเครียดจะรบกวนการทำงานของฮอร์โมนการสืบพันธุ์ ดังนั้นในช่วงที่มีความเครียดจากชีวิตประจำวัน  การผลิตตัวอสุจิและการตกไข่จะถูกยับยั้ง

เพราะฉะนั้น จึงแนะนำให้ลดภาวะเครียด และถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังคงเกิดความเครียดก็ควรจะมีการฝึกการจัดการสุขภาพจิตที่ดี แต่หากไม่สามารถจัดการกับความเครียดนั้นได้เองหรือความเครียดนั้นกลายเป็นความทุกข์ทรมาน (จนส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน) ก็ควรจะปรึกษาจิตแพทย์

•    การออกกำลังกายหักโหมมากเกินไป การออกกำลังกายหักโหมมากเกินไปมักจะเกี่ยวข้องกับตัวอสุจิที่มีคุณภาพลดลงในผู้ชาย ส่วนในผู้หญิงจะรบกวนการตกไข่ และการผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน สำหรับผู้หญิงที่ออกกำลังกายอย่างหนัก (เช่น การวิ่งมาราธอน) อาจจะเกี่ยวข้องกับการขาดหายไปของรอบประจำเดือนได้ สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติ การออกกำลังกายระดับปานกลาง(ไม่มากเกินเจ็ดชั่วโมงต่อสัปดาห์) ก็นับว่าเหมาะสม   แต่ในผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยหรือมากกว่าเกณฑ์ปกติ ควรจะปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเอง

•    การอาบน้ำร้อนและการซาวน่า การผลิตตัวอสุจิจะเสื่อมลงเมื่อสัมผัสกับความร้อนมากเกินไป  ดังนั้นการแช่นำ้ร้อน ที่มีความร้อน 104o F (40o C) หรือมากกว่า เป็นเวลามากกว่า 30 นาที  อาจทำให้ปริมาณของตัวอสุจิลดลง  ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการแช่น้ำร้อน หรือซาวน่า  นอกจากนี้การทำงานในที่ร้อนเกินไป การสวมใส่ชั้นในที่แน่นเกินไป และการใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพา (laptop) วางโดยตรงบนตัก ก็สามารถเพิ่มอุณหภูมิความร้อนต่ออัณฑะได้ทั้งสิ้น นอกจากนั้น การเป็นไข้เรื้อรังเป็นเวลานานก็ยังสามารถมีผลกระทบกับการผลิตและคุณภาพของตัวอสุจิอีกด้วย

กุลพัฒน์การแพทย์ สหคลินิก

•    สารหล่อลื่นระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ สารหล่อลื่น ครีมโลชั่น และแม้แต่น้ำลาย สามารถแทรกแซง การเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ  ดังนั้น จึงควรใช้น้ำมันจากพืช ดอกคำฝอย หรือน้ำมันถั่วลิสงแทน

•    การสัมผัสสารพิษ ยาเสพติด หรือยาบางชนิด สารเคมีที่ใช้ในสถานที่ทำงานและครัวเรือน เช่น สารโลหะหนักในโรงงานอุตสาหกรรม สารกำจัดศัตรูพืช ตัวทำละลายอินทรีย์ (เช่น สารเคมีใช้ซักแห้ง) และสารเคมีและตัวทำละลาย อื่นๆ อาจจะมีผลกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์   ดังนั้นจึงแนะนำให้สวมสิ่งป้องกันเมื่อสัมผัสสารดังกล่าว สถานที่ควรมีการระบายอากาศที่เหมาะสม และสวมหน้ากากหรือใช้ผ้าปิดจมูก เพื่อลดความเสี่ยงจากสารพิษ   สำหรับผู้ที่ทำงานด้านอุตสาหกรรมหรือเกษตรกรรมอาจจะปรึกษาแพทย์หากเกิดความกังวลเมื่อต้องสัมผัสกับสารเคมีหรือก๊าซต่างๆ

นอกจากนั้นยาบางอย่างโดยเฉพาะสารเสตียรอยด์   ยาฮอร์โมน และยารักษาโรคมะเร็งก็อาจจะมีผลกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์เช่นกัน   และสุดท้ายยาเสพติด (กัญชา โคเคน และฝิ่น) จะส่งผลกระทบให้ตัวอสุจิเคลื่อนที่ได้แย่ลงและพบตัวอสุจิที่ผิดปกติมากขึ้น และยังนำไปสู่การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ(อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว)อีกด้วย

กุลพัฒน์การแพทย์ สหคลินิก