การบริการให้คำปรึกษา
การบริการให้คำปรึกษา
o ระยะเวลา: เวลาที่เริ่มมารับการตรวจรักษาเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับภาวะมีบุตรยาก การรีบรักษาเร็วเกินไปจะทำให้คู่สมรสเครียดโดยไม่จำเป็น มีบ่อยครั้งที่การให้ความรู้ความมั่นใจและการอดทน“ปล่อยให้เป็นตามธรรมชาติ” เป็นวิธีที่ดีกว่า แต่ในอีกทางหนึ่ง ภาวะการเจริญพันธุ์นั้นก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของอายุเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงที่มีอายุ 38-39 ปีขึ้นไป เพราะโอกาสการมีบุตรจะลดน้อยลงไปมาก การเริ่มต้นชีวิตครอบครัวนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่นอาชีพการงาน คู่สมรส และสภาพเศรษฐกิจ อาจทำให้เข้ารับการปรึกษาและเริ่มรับการรักษาเมื่อสายเกินไปซึ่งส่งผลให้โอกาสสำเร็จลดลงแม้ว่าจะทำการตรวจพิเศษหลายอย่างหรือใช้วิธีการที่มีราคาแพงก็ตาม
o งบประมาณ: ค่าใช้จ่ายเป็นปัญหาหลักอย่างหนึ่งของผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ต้องใช้ยาและวิธีการทางห้องปฏิบัติการที่มีราคาสูง คู่สมรสที่มีปัญหาจำนวนมากที่จะเลือก ตัดสินใจเข้ารับบริการปฏิสนธินอกร่างกายหรือที่มักจะเรียกกันว่าเด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertilization–IVF) ซึ่งได้ผลดีเนื่องจากปัจจัยด้านราคา การทำเด็กหลอดแก้วอาจมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก โดยประมาณคือ 90,000-100,000 บาทต่อหนึ่งรอบรักษา และยังไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายจากขั้นตอนอื่นๆ หากต้องทำเพิ่มเติมเช่น การฉีดตัวอสุจิเข้าไปผสมกับไข่โดยตรงหรือที่เรียกว่า ICSI เป็นที่น่าเสียดายที่บริษัทประกันสุขภาพไม่ค่อยมีกรรมธรรม์ที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในกรณีเหล่านี้ แม้กระทั่งสำหรับการทำ IVF เองก็มีไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่สนับสนุนเงินทุนสาธารณะสำหรับบริการนี้ ดังนั้นแม้แต่ในประเทศทางตะวันตก การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์จะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงและต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ดังนั้นจึงมีเพียงคู่สมรสที่ยอมรับค่าใช้จ่าย และต้องการมีบุตรอย่างมากเท่านั้นที่จะใช้บริการ และโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ (เกิดการปฏิสนธิ) ต่อหนึ่งรอบประจำเดือนธรรมชาติ จะมีประมาณร้อยละ 20-30 ดังนั้นโดยส่วนใหญ่จะต้องทำประมาณ 2-3 รอบกว่าที่จะสามารถสร้างความฝันที่จะมีครอบครัวที่สมบูรณ์ได้สำเร็จ ในกรณีสามารถยอมรับค่าใช้จ่ายได้ในจำนวนจำกัด ทางเราก็มีคำแนะนำเพื่อให้คุณสามารถเลือกวิธีขั้นตอนเด็กหลอดแก้วได้ในราคาที่เอื้อมถึง
o การตัดสินใจ: การรักษาภาวะมีบุตรยากนั้นมีหลายวิธี การตัดสินใจหรือพิจารณาเลือกวิธีการรักษาที่หลากหลายนี้ต้องอาศัยการตัดสินใจที่ดี เพราะจะมีผลไปตลอดชีวิตของคุณและครอบครัว ตลอดระยะการรักษาคุณอาจต้องตัดสินใจในหลายๆขั้นตอนเช่น เลือกวิธีต่างๆ เช่นทำเด็กหลอดแก้ว การกระตุ้นการตกไข่ การยกเลิกการย้ายตัวอ่อนสู่โพรงมดลูก การกำหนดจำนวนตัวอ่อนที่จะย้ายสู่โพรงมดลูก การลดจำนวนของแฝดในครรภ์ การใช้ไข่และอสุจิที่บริจาค หรือการรับบุตรบุญธรรมเป็นต้น ซึ่งเราจะช่วยคุณให้เข้าใจถึงสิ่งต่างๆ ทั้งข้อดีและข้อด้อยของแต่ ละวิธีรวมถึงโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากกระบวนการนั้นๆ เพื่อให้คุณเลือกการรักษาที่เหมาะสมกับคุณที่สุดได้
o ประเด็นทางจริยธรรมและการมีส่วนร่วมของบุคคลที่สาม: บางครั้งคู่สมรสอาจต้องเผชิญกับปัญหาด้านจริยธรรมและความเชื่อทางด้านศาสนา ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ที่มีจำนวนตัวอ่อนมากกว่าที่คาดไว้ จำเป็นต้องลดจำนวนตัวอ่อนลง เพื่อเพิ่มอัตราการอยู่รอดของตัวอ่อนที่เหลือ หรือในกรณีที่ทำ IVF แล้วได้ตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการหลายตัว บางครั้งตัวอ่อน "ส่วนเกิน" จะถูกแช่แข็งและฝากไว้ในธนาคารตัวอ่อนเพื่อเก็บไว้ใช้ในภายหลัง แต่สุดท้ายแล้วไม่ได้ใช้ ก็อาจต้องมาตัดสินใจว่าจะทิ้งตัวอ่อนหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าหนักใจกับการทิ้งสิ่งที่สามารถเติบโตต่อเป็นทารกได้ นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งหัวข้อสำคัญที่มีการถกเถียงเรื่องจริยธรรมกันอย่างมาก ก็คือการที่มีบุคคลที่สามเข้ามาในการรักษาด้วย (บุคคลอื่นที่ไม่ใช่คู่สมรส) ซึ่งอาจเป็นผู้บริจาค (ไข่ อสุจิ หรือตัวอ่อน) หรือผู้ที่จะมาตั้งครรภ์แทน (อุ้มบุญ) ประเด็นสำคัญในเรื่องนี้คือ ความเกี่ยวข้องกับด้านธุรกิจหรือการที่มีบุคคลบางพวกที่แสวงหากำไร จากการดำเนินการเป็นคนกลางจัดหาผู้หญิง เพื่อมาทำการอุ้มบุญ ดังนั้นการที่บุคคลที่สามเป็นเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวจะทำให้ปัญหาเหล่านี้ลดลง แต่ก็อาจเกิดปัญหาในแง่อื่นๆตามมาได้อยู่ดี การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (ART) ก่อให้เกิดความซับซ้อนทางด้านศีลธรรมและอาจจะเกิดคำถาม โดยเงื่อนไขที่ละเอียดอ่อนเหล่านี้เป็นที่ถกเถียงกันจากทั้งจากฝ่ายนิติบัญญัติ นักวิทยาศาสตร์ และผู้นำทางศาสนา
o การให้ข้อมูลและความช่วยเหลือเพิ่มเติม: เมื่อไม่สามารถวินิจฉัยว่าสาเหตุของภาวะมีบุตรยากเกิดจากอะไร (ภาวะมีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ) หรือเมื่อการรักษาล้มเหลว มีภาวะแทรกซ้อน หรือเมื่อท้อแท้จนจะเลิกล้มความพยายามในการมีบุตรด้วยตนเอง การยอมรับเรื่องรับบุตรบุญธรรม หรือเมื่อคุณอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบากเราก็พร้อมจะให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม เช่น การให้คำปรึกษาแนะนำวิธีการรับมือกับปัญหาอาจจะที่เกิดขึ้นต่อ ตัวคุณ คู่สมรส และครอบครัว