Find us on facebook youtube

รอบประจำเดือนและการมีบุตร

อวัยวะสืบพันธุ์

อวัยวะสืบพันธุ์ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนและเซลล์สืบพันธุ์โดยอวัยวะสืบพันธ์ุเพศชาย(อัณฑะ) จะผลิตอสุจิ ในขณะที่อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง(รังไข่)จะผลิตไข่ ขบวนการปฏิสนธิเกิดขึ้นเมื่ออสุจิผสมกับไข่ กลายเป็นตัวอ่อนซึ่งได้รับการถ่ายทอดคุณลักษณะทางพันธุกรรม (โครโมโซม) จากเซลล์ต้นกำเนิดทั้งสอง  ซึ่งตัวอ่อนนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตที่กำลังเกิดขึ้นใหม่

อวัยวะสืบพันธ์ุเพศชาย(อัณฑะ) - กุลพัฒน์การแพทย์ สหคลินิก อวัยวะสืบพันธ์ุเพศเพศหญิง(รังไข่) - กุลพัฒน์การแพทย์ สหคลินิก



ผู้ชายกับน้ำเชื้ออสุจิ

อัณฑะของผู้ชายที่เจริญวัยแล้วจะผลิตน้ำเชื้ออสุจิอยู่ตลอดเวลา ร่างกายจะเริ่มผลิตน้ำเชื้ออสุจิเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น และผลิตต่อเนื่องไปจนตลอดอายุขัย โดยจะผลิตน้อยลงเมื่อเข้าสู่วัยชราการผลิตอสุจิที่โตเต็มที่จะใช้เวลาประมาณ 70-90 วันอสุจิเป็นเซลล์ที่สืบทอดลักษณะพันธุกรรมของฝ่ายชาย และมีความสามารถในการเคลื่อนไหวผ่านปากมดลูกและมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อทำการผสมกับไข่

ในการหลั่งน้ำเชื้ออสุจิหนึ่งครั้ง จะมีอสุจิออกมาหลายล้านตัว นอกเหนือจากอสุจิแล้วยังมีของเหลวที่ผลิตจากต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นแหล่งอาหารและช่วยปกป้องอสุจิอีกด้วย จากจำนวนอสุจิดังกล่าวจะมีเพียงไม่กี่ร้อยตัวที่สามารถอยู่รอดและเข้าไปถึงท่อนำไข่ ซึ่งเป็นจุดที่มักเกิดการปฏิสนธิขึ้นได้ เนื่องจากสิ่งที่จะผ่านเข้าปากมดลูกเข้าไป จะมีแค่อสุจิในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น จึงเป็นเรื่องปกติที่จะมีของเหลวออกมาจากช่องคลอดหลังการมีเพศสัมพันธ์ ส่วนอสุจิที่ผ่านปากมดลูกเข้าไปสู่มดลูกจะมีชีวิตอยู่ในสภาพพร้อมที่จะผสมพันธุ์กับไข่ที่เจริญเติบโตเต็มที่ได้หลายวัน

อสุจิและไข่ - กุลพัฒน์การแพทย์ สหคลินิก


ผู้หญิงกับไข่

ตรงกันข้ามกับการผลิตอสุจิของฝ่ายชายที่เมื่อร่างกายเริ่มผลิตแล้วจะผลิตต่อไปตลอดเวลา ในฝ่ายหญิงจะไม่มีการผลิตไข่ในลักษณะดังกล่าว  เมื่อแรกเกิดผู้หญิงจะมีไข่ทั้งหมดประมาณสองล้านฟองและจะค่อยๆลดลงเมื่อเข้าสู่ระยะก่อนหมดประจำเดือนจำนวนไข่จะลดลงอย่างรวดเร็ว นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้อัตราการปฏิสนธิของผู้หญิงที่มีอายุ ลดลงอย่างฉับพลัน ในขณะที่ฝ่ายชายยังคงประสิทธิภาพในการสืบพันธุ์ได้แม้จะสูงวัยแล้วก็ตาม

เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นแต่ละรอบของประจำเดือนจะมีไข่หลายฟองเติบโตในระยะเวลา 2-3 สัปดาห์  ในจำนวนนั้นมักจะมีเพียงฟองเดียวที่เจริญเติบโตได้เต็มที่ ในขณะที่ฟองอื่นๆจะเสื่อมสลายไป เมื่อไข่ฟองนั้นเจริญเติบโตเต็มที่จะถูกปล่อยออกจากรังไข่พร้อมกับเซลล์พี่เลี้ยง  ขบวนการดังกล่าวเรียกว่า“การตกไข่” ไข่นี้จะพร้อมทำการปฏิสนธิในช่วง12ถึง24ชั่วโมงหลังการตกไข่ถ้าไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวไข่ก็จะเสื่อมสลายไป

การพัฒนาการของไข่ในรังไข่และการตกไข่ - กุลพัฒน์การแพทย์ สหคลินิก


การปฏิสนธิและตัวอ่อนระยะก่อนการฝังตัว

ท่อนำไข่เป็นท่อที่อยู่ระหว่างรังไข่กับมดลูก โดยปลายด้านที่อยู่ใกล้รังไข่มีลักษณะเหมือนปากแตรและมีเนื้อเยื่อลักษณะคล้ายนิ้วมืออยู่ที่ปลายของปากแตรหลังจากการตกไข่แล้วไข่ไม่สามารถเข้าไปในท่อนำไข่ได้ด้วยตัวเองแต่จะถูกเก็บเข้าไปโดยส่วนที่ เหมือนนิ้วมือที่ปลายท่อนำไข่หลังจากนั้นไข่จะถูกส่งผ่านเข้าไปในท่อนำไข่ส่วนที่เรียกกันว่า ampulla ซึ่งไข่จะพบกับอสุจิและเกิดการปฏิสนธิขึ้น

ในความเป็นจริงมีอสุจิหลายตัวที่จะทำการปฏิสนธิกับไข่ แต่ตัวฟองไข่เองก็มีเซลล์พี่เลี้ยงหุ้มอยู่หลายชั้น อสุจิแต่ละตัวจะพยายามชอนไชผ่านเซลล์ปกป้องเหล่านั้นจนถึงตัวไข่  เมื่อทะลุผ่านเซลล์ปกป้องเหล่านี้ได้ทุกชั้น เซลล์อสุจิจึงจะสามารถผสมกับไข่ที่อยู่ภายในได้  ทันทีที่อสุจิตัวแรกทะลุเข้าไปถึงไข่ได้สำเร็จ  ชั้นปกป้องรอบๆฟองไข่ก็จะแปรสภาพป้องกันไม่ให้อสุจิตัวอื่นเข้ามาในไข่ได้อีก

หลังการปฏิสนธิไข่และอสุจิจะรวมกันแปรสภาพเป็นตัวอ่อนระยะต้น(zygote) และจะอยู่ในท่อนำไข่ประมาณ 3-4วัน   ในระหว่างนั้นจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  เมื่อตัวอ่อนเคลื่อนไปถึงมดลูกจะมีขนาด 20-40 เซลล์ ตัวอ่อนจะลอยอยู่ในมดลูกอีกประมาณ 2-3 วันก่อนที่จะฝังตัวกับผนังมดลูก ขบวนการนี้เรียกว่าการฝังตัวของตัวอ่อน

การตกไข่ การปฏิสนธิ และพัฒนาการของตัวอ่อน - กุลพัฒน์การแพทย์ สหคลินิก


รอบประจำเดือนและฮอร์โมนของระบบการสืบพันธุ์

รอบประจำเดือนคือระยะเวลาตั้งแต่วันแรกของการมีเลือดระดูออกมา จนกระทั่งถึงวันแรกของรอบถัดไป  รอบประจำเดือนส่วนใหญ่จะมาอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 28-30 วัน (หมายความว่ารอบประจำเดือนส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาห่างเท่าๆกันในทุกเดือนอย่างไรก็ดีรอบเดือนที่สั้นหรือยาวกว่าปกติหรือมาไม่สม่ำเสมออาจเป็นได้ทั้งรอบเดือนปกติและรอบเดือนผิดปกติ  โดยรอบเดือนที่ปกตินั้นหมายถึง รอบเดือนที่มีการตกไข่
ปกติแล้วถือว่าวันที่หนึ่งของรอบเดือนคือวันที่มีเลือดประจำเดือนออกมาวันแรก สำหรับรอบเดือนปกติซึ่งมี 28 วันจะมีการตกไข่ในวันที่ 14 ของรอบเดือน  โดยช่วงครึ่งแรกของรอบเดือน(วันแรกที่มีประจำเดือนมาจนถึงวันก่อนที่จะมีการตกไข่) เรียกว่าระยะฟอลลิคิวลาร์; follicular phase (เนื่องจากเป็นระยะที่ไข่เจริญเติบโตอยู่ในถุงน้ำ ซึ่งเรียกว่าฟอลลิเคิล; follicle ซึ่งอยู่ในรังไข่) สามารถเห็นถุงน้ำดังกล่าวได้ตั้งแต่ระยะแรกๆของ follicular phase ด้วยอุลตร้าซาวน์ทางช่องคลอดเมื่อ follicle มีขนาด 8-10 ม.ม. จากนั้น follicle ก็จะเจริญเติบโตจนมีขนาด 18-20 ม.ม. เช่นวงใกล้การตกไข่  ขณะที่ follicle (และไข่ข้างใน) เจริญเติบโตก็จะผลิตระดับฮอร์โมนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามขนาดที่โตขึ้น  ฮอร์โมนที่สำคัญที่สุดคือเอสตราไดออล (estradiol) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ เอสโตรเจน   เอสตราไดออลเป็นตัวกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกและชั้นเยื่อบุของโพรงมดลูก (endometrium) ซึ่งเป็นตัวช่วยในการปฏิสนธิของไข่และการฝังตัวของตัวอ่อน
เมื่อมีการตกไข่แล้ว follicle ซึ่งเคยมรไข่อยู่ภายในก็จะว่างเปล่าและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง (จึงมีชื่อในภาษาละตินว่าร่างโครงสร้างสีเหลือง หรือ Corpus Luteum) และเริ่มทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน ในปริมาณมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ชั้นเยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น และมีสภาพโปร่งฟูเหมือนฟองน้ำ พร้อมที่จะเกิดการฝังตัวของตัวอ่อนและกลายเป็นส่วนหนึ่งของรกต่อไปกระบวนการนี้เกิดขึ้นในครึ่งหลังของรอบเดือนหลังจากการตกไข่แล้ว เรียกว่าระยะลูเตียล (Luteal phase)
ถ้าไม่เกิดการตั้งครรภ์ขึ้น (ไม่มีการเกิดตัวอ่อนหรือไม่มีการฝังตัว) ฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรนที่ผลิตจาก Corpus Luteum  จะลดลงอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นจะมีประจำเดือนออกมา  โดยประจำเดือนจะมาหลังจากการตกไข่ประมาณ 13 – 14 วันอย่างแน่นอน เนื่องจาก Corpus Luteum นั้นมีอายุขัยในการทำงานที่ตายตัวชัดเจน เลือดประจำเดือนคือเยื่อบุโพรงมดลูกที่ได้ถูกสร้างขึ้นให้หนาฟูโดยเอสตราไดออลและโปรเจสเตอร์โรนหลุดลอกออกมาเมื่อไม่มีการฝังตัวของตัวอ่อนเกิดขึ้น  รอบเดือนรอบใหม่ก็จะเริ่มต้นด้วยเยื่อบุโพรงมดลูกบางๆก่อนและจะค่อยๆเพิ่มความหนาฟูโดยอิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอร์โรน
ถ้ามีการปฏิสนธิและการฝังตัวของตัวอ่อนในเยื่อบุโพรงมดลูก รกของตัวอ่อนจะผลิตฮอร์โมนของการตั้งครรภ์ขึ้น (Chorionic Gonadotropin; hCG) ซึ่งฮอร์โมน hCG นี้สามารถตรวจพบในระดับต่ำๆ ได้ด้วยการตรวจเลือดประมาณ 2-3 วัน ก่อนการมีประจำเดือนรอบถัดไป หรือ10-12 วันหลังจากการตก ไข่

การตรวจการตั้งครรภ์ก็คือการตรวจหาฮอร์โมน hGC นั่นเอง  ฮอร์โมนตัวนี้จะช่วยให้Corpus Luteum สามารถทำงานสร้างฮอร์โมนต่อไปเกินช่วงอายุขัยตามปกติ  ซึ่งฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรนจาก corpus luteum นี้จำเป็นมากสำหรับการตั้งครรภ์ หลังจากนี้อีก2-3 สัปดาห์ (6-7 สัปดาห์ของอายุทารกในครรภ์ นับตั้งแต่วันแรกของรอบประจำเดือนครั้งสุดท้าย) รกจะเจริญขึ้นมากและสามารถสร้างฮอร์โมนได้เองอย่างเพียงพอ ในการรักษาสภาพครรภ์ และ Corpus Luteum ก็จะสลายไป

รอบประจำเดือน - กุลพัฒน์การแพทย์ สหคลินิก


ช่วงเวลาของการมีเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์

ในหนึ่งรอบประจำเดือนจะมีเพียงไม่กี่วันเท่านั้นที่สามารถเกิดการปฏิสนธิได้  แม้อสุจิสามารถอยู่รอดได้หลายวันในมดลูกของฝ่ายหญิงแต่ไข่จะสมบูรณ์พร้อมที่จะเกิดการปฏิสนธิได้อย่างมากไม่เกิน24ชั่วโมง ดังนั้นช่วงโอกาสการร่วมเพศที่จะเกิดบุตรได้คือประมาณ 1-2 วันก่อนการตกไข่
ผู้หญิงที่มีรอบประจำเดือนปกติที่ 28 วันจะตกไข่ที่กลางรอบเดือน คือวันที่14 ของรอบเดือนหรือ14 วัน หลังจากวันแรกที่มีประจำเดือน แต่ถ้ารอบประจำเดือนยาวนานกว่านั้น เช่นมีรอบเดือนสม่ำเสมอที่ 34 วัน การตกไข่จะเกิดขึ้นประมาณวันที่ 20 ของรอบเดือนไม่ใช่กึ่งกลางของระยะรอบ  ดังนั้นถ้ารอบประจำเดือนมีช่วงระยะเวลาที่แน่นอนก็จะสามารถคำนวณหาเวลาที่ดีที่สุดที่จะก่อให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ (ในผู้หญิงแต่ละคนช่วงแรกของประจำเดือนหรือ follicular phase ช่วงเวลาอาจจะแปรเปลี่ยนไปบ้างเล็กน้อยแต่ช่วงหลังหรือ Luteal phase นั้นจะมีช่วงเวลาที่ตายตัวคงที่เสมอคือ 14±1 วัน)
ผู้หญิงบางคนสามารถรับรู้การตกไข่ของตนเองได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจากความรู้สึก  ตัวบ่งบอกทั่วไปก็คือการเจ็บตึงเต้านม มีการตกขาวมากขึ้นและสีขุ่นขึ้น  การอืดแน่นท้อง  แต่ในขณะเดียวกันผู้หญิงบางคนก็ไม่มีอาการใดๆเลย
อีกวิธีหนึ่งก็คือการมีเพศสัมพันธ์สัปดาห์ละ 2-3 ครั้งโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าอยู่ในช่วงไหนของรอบเดือน

และสุดท้ายการตกไข่สามารถคำนวณได้ จากการการเติบโตของไข่โดยดูผ่านอุลตร้าซาวน์ทางช่องคลอด หรือสามารถใช้ชุดการตรวจปัสสาวะ ซึ่งจะใช้ตรวจฮอร์โมน LH โดยฮอร์โมนนี้จะตรวจเจอในปัสสาวะประมาณ 24-36 ชั่วโมงก่อนการตกไข่  ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะสมในการมีเพศสัมพันธ์

ช่วงไข่สุก - กุลพัฒน์การแพทย์ สหคลินิก


โอกาสที่จะตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์เป็นการบวนการที่ละเอียดซับซ้อนและขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนี้

•    การผลิตอสุจิที่ปกติในฝ่ายชายและการผลิตไข่ที่ปกติในฝ่ายหญิง

•    ท่อรังไข่ที่ไม่ตีบตัน ไม่มีอุปสรรคที่กั้นทางการวิ่งของอสุจิไปหาไข่ หรือกั้นตัวอ่อนที่ปฏิสนธิแล้วบริเวณท่อนำไข่เข้าไปฝังตัวในโพรงมดลูก

•    อสุจิที่มีความสามารถทำการปฏิสนธิกับไข่และกลายเป็นตัวอ่อนระยะแรก (zygote) ได้

•    ตัวออ่อนระยะแรก (zygote) สามารถเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรงตามพันธุกรรม

•    ตัวอ่อนมีความสามารถในการฝังตัวที่มดลูกได้

•    เจริญเป็นทารกที่แข็งแรงและปกติ (จะเรียกว่าทารกเมื่อมีอวัยวะครบถ้วน  ประมาณ10สัปดาห์หลังการปฏิสนธิ)

•    ร่างกายทุกส่วนเจริญเติบโตเป็นปกติเพื่อสามารถอยู่รอดได้เมื่อออกมาจากครรภ์มารดาแล้ว

     การเจอปัญหาซ้ำซากในแต่ละขั้นตอนดังกล่าวเป็นเหตุทำให้ไม่สามารถมีบุตรได้   ในความเป็นจริง ระบบการสืบพันธุ์ของมนุษย์มีประสิทธิภาพไม่ดีนักกรณีคู่สมรสที่มีสุขภาพปกติและมีเพศสัมพันธ์ในช่วงการตกไข่พอดี  โอกาสที่จะเกิดการปฏิสนธิ อยู่ที่ร้อยละ80   แต่ประมาณร้อยละ50 ของตัวอ่อนที่ปฏิสนธิแล้วกลับไม่เกิดการพัฒนาและไม่ฝังตัวกับมดลูก  บางกรณีตัวอ่อนฝังตัวได้ แต่เกิดความผิดปกติและไม่สามารถอยู่รอดได้ถึงวันคลอด  บางกรณีคู่ชายหญิงนั้นไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าแท้งไปแล้วเพราะประจำเดือนรอบต่อมา มาอย่างปกติ  ถ้ารอบประจำเดือนขาดหายไป (มีอาการแสดงว่าการตั้งครรภ์ให้ผู้ป่วยทราบ) ประมาณกว่าร้อยละ25ของตัวอ่อนก็ยังไม่สามารถอยู่รอดได้ โดยเกิดการแท้งหรือตายไป  กล่าวได้ว่าในหนึ่งรอบการตกไข่ปกติ หากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงตกไข่พอดี โอกาสที่จะเกิดการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์มีเพียงร้อยละ20  (1 ใน 5) เท่านั้น


ผลของอายุกับภาวะการมีบุตร

อายุมีผลอย่างมากต่อระบบสืบพันธุ์ของคน ในบรรดาเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมดในตอนต้น อายุของฝ่ายหญิงเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุด ความสามารถในการมีบุตรของผู้หญิงจะสูงสุดประมาณช่วงอายุ 20 ต้นๆ และค่อยๆลดลงไปเมื่ออายุมากขึ้น  และจะลดลงอย่างมากเมื่ออายุเลย 36 ปี และลดลงอย่างรวดเร็วขึ้นอีกหลังจากอายุ 39-40 ปี
อัตราการตั้งครรภ์ของผู้หญิงในช่วงอายุ 20 ปี ในแต่ละเดือนอยู่ที่ร้อยละ25-30  ลดลงเหลือร้อยละ 15-20 เมื่อเข้าสู่วัย 30 ตอนต้น ประมาณร้อยละ 10-15 เมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัย30ตอนปลาย  ร้อยละ 5-8 สำหรับวัย 40 ตอนต้น  และเหลือเพียงร้อยละ1หรือน้อยกว่าเมื่ออายุ 45 ปี การตั้งครรภ์โดยธรรมชาติของหญิงที่วัยสูงกว่านี้ เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นแต่อัตราที่กล่าวมานี้ เป็นอัตราต่อระยะ1รอบประจำเดือนและโอกาสก็จะเกิดขึ้นอีกในทุกๆเดือน  ดังนั้นคู่หญิงชายที่สุขภาพสมบูรณ์ (ประมาณร้อยละ 90) จะมีการตั้งครรภ์ได้ภายใน1ปี และโอกาสสะสมของการตั้งครรภ์มีประมาณร้อยละ 90 ใน1ปีของการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกัน (ไม่มีการคุมกำเนิด)
โอกาสสะสมของการตั้งครรภ์ในแต่ละเดือน - กุลพัฒน์การแพทย์ สหคลินิก

ควรจะปรึกษาแพทย์เมื่อไร

     หลายคู่สมรสที่อาจกังวลว่าจะใช้เวลานานในการมีบุตร  เป็นความวิตกกังวลที่พบได้ทั่วไป แต่มีการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าความเครียดทางอารมณ์เหล่านั้นจะมีผลลดโอกาสการมีบุตรให้น้อยลง  ในโลกปัจจุบันที่มนุษย์เราเคยชินกับการที่สามารถควบคุมทุกๆสิ่งและจัดหาสิ่งที่ต้องการได้ในเวลาที่ต้องการ    แต่การตั้งครรภ์ตามวิถีทางธรรมชาติไม่เป็นเช่นนั้น  ธรรมชาติต้องการความอดทนและบางคู่จำเป็นต้องมีความอดทนมากกว่าคนอื่นๆ  การมีทัศนคติที่ดีและควบคุมตัวเองให้มีความสงบทางอารมณ์เป็นแนวทางที่ดีซึ่งจะนำไปสู่การตั้งครรภ์โดยธรรมชาติและหลีกเลี่ยงวิธีการอื่นที่ไม่จำเป็น
     คำถามที่สำคัญก็คือ  คู่สมรสควรจะอดทนรอจนถึงเมื่อไรจึงเริ่มปรึกษาแพทย์ และทำการประเมินภาวะความพร้อมในการมีบุตร
     คำตอบคือ คู่สมรสที่อายุน้อยและยังไม่เคยตั้งครรภ์ควรจะรอ1ปีหรือมากกว่านั้น  ในกรณีที่ฝ่ายหญิงอายุมากกว่า 35 ปี หรือเคยตั้งครรภ์มาแล้ว ควรจะรอประมาณ6เดือน  อย่างไรก็ตามระยะเวลาที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงคำจำกัดความและแนวปฏิบัติเท่านั้น ไม่ได้หมายว่าทุกคู่จะต้องรอ1ปีก่อนจึงจะมาปรึกษาแพทย์ได้  เมื่อคู่สมรสมีความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการมีบุตรก็สามารถมารับการตรวจหรือปรึกษาแพทย์ได้  เพื่อให้เกิดความเข้าใจและลดความวิตกกังวล   ในบางรายอาจต้องทำการประเมินด้วยการตรวจพิเศษบางอย่าง ตามความจำเป็น เพื่อยืนยันสภาพความพร้อมในการมีบุตรของคู่สมร