Find us on facebook youtube

การควบคุมอาหารและออกกำลังกาย ทำให้ไม่อ้วนขณะตั้งครรภ์จริงหรือ?

ในปัจจุบันพบว่า ภาวะอ้วน เป็นโรคใหม่ที่กำลังมาแรงทั้งในประเทศแถบตะวันตก หรือในทางเอเชียเองก็ตาม โรคอ้วนนี้อาจจะพบมากถึงสองในสามของประชากรบางประเทศ นอกจากจะพบมากในผู้ใหญ่แล้ว ในเด็กเองก็พบมากขึ้นเรื่อยๆเช่นกันมีการศึกษาใหม่ๆพบว่าการที่คุณแม่ตั้งครรภ์“กินมากเกินไป”ขณะตั้งครรภ์จะส่งผลให้ลูกอ้วนในวัยเด็กได้ (เพราะทารกได้รับน้ำตาลปริมาณมากเกินปกติตั้งแต่อยู่ในครรภ์) ภาวะอ้วนในหญิงตั้งครรภ์ อาจเกิดจาก เป็นคนอ้วนเดิมอยู่แล้ว หรือ เพิ่งมีน้ำหนักขึ้นมากหลังจากตั้งครรภ์แล้วก็ได้ ซึ่งภาวะอ้วนขณะตั้งครรภ์สัมพันธ์กับ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ทารกตัวโตผิดปกติ  เพิ่มความเสี่ยงของการผ่าคลอด ทารกเกิดออกมาแล้วสุขภาพไม่แข็งแรงต้องนอนในห้องICUเป็นต้นจะวินิจฉัยภาวะอ้วนขณะตั้งครรภ์เมื่อ มีน้ำหนักขึ้นมากกว่า16 kgในรายที่มีน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ปกติ และมีน้ำหนักขึ้นมากกว่า11 kgในรายที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์อยู่แล้วก่อนตั้งครรภ์

การศึกษานี้ทำที่ประเทศแคนาดา ศึกษาในประชากรที่กำลังตั้งครรภ์น้อยกว่า26สัปดาห์ จำนวน190 คน หลังจากนั้นจะสุ่มเลือกผู้ป่วยเข้ากลุ่มที่ไม่ต้องทำอะไร(กลุ่มควบคุม)และกลุ่มที่ต้องปรับพฤติกรรม ซึ่งคนที่อยู่ในกลุ่มหลังจะต้องเข้าชั้นเรียนเพื่อสอนออกกำลังกายและสอนการรับประทานอาหารที่เหมาะสม โดนกลุ่มที่เป็นกลุ่มควบคุมจะไม่ได้เข้าชั้นเรียนเพื่อสอนออกกำลังกายและคุมอาหารเลย ทุกคนที่เข้าร่วมการศึกษานี้ ได้ทำแบบสอบถามในตอนเริ่มเข้าโครงการ และหลังจากนั้นอีกสองเดือนจะทำซ้ำอีกครั้ง

ผลการศึกษานี้เป็นที่น่าพอใจมากคือ กลุ่มที่ได้เข้าชั้นเรียน สามารถลดแคลอรี่ลงได้ชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ยัง สามารถลดการทานอาหารจำพวกแป้งและไขมันลงได้และออกกำลังกายมากขึ้นอย่างชัดเจน ทำให้กลุ่มนี้พบภาวะอ้วนขณะตั้งครรภ์ลดลงเหลือเพียง35%เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่มีจำนวนคนอ้วน47% จากการตรวจพบนี้จึงแสดงให้เห็นว่าถึงแม้จะตั้งครรภ์แล้วก็ไม่สายเกินไปในการเริ่มรับประทานอาหารที่เหมาะสมและออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ   Last update: 24 January 2013 | View 3764

« Back