Find us on facebook youtube

ผลการรักษาของกุลพัฒน์คลินิก

การเปรียบเทียบกับมาตรฐานของยุโรป

อย่างที่ได้กล่าวในตอนต้นแล้วว่า อัตราการสำเร็จของการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์นั้นขึ้นกับลักษณะของประชากรที่เข้ารับการรักษาในแต่ละสถาบัน ดังนั้นการนำผลความสำเร็จมาเปรียบเทียบข้ามสถาบันซึ่งลักษณะของผู้ที่เข้ารับการรักษาต่างกันอาจไม่เหมาะสมนัก อย่างไรก็ตามการเปรีบเทียบกับข้อมูลจากแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีสถาบันการรักษาเข้าร่วมจำนวนมากก็จะเหมาะสมมากกว่าเนื่องจากเมื่อมีประชากรกลุ่มที่นำมาศึกษาจำนวนมาก ก็จะได้ค่าใกล้เคียงกับประชากรทั่วไปจริงๆมากขึ้น ในที่นี้จะใช้ค่าจาก European Society of Human Reproduction and Embryology (ESHRE) ซึ่งตีพิมพ์ล่าสุด และมาจากภูมิภาคที่เป็นผู้นำด้านการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์  โดยการศึกษานี้มาจากฐานข้อมูลของ ESHRE registry  ซึ่งมีจำนวนข้อมูลของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาถึงประมาณห้าแสนคนต่อปี จาก 33 ประเทศในยุโรป  โดยผลของ ESHRE registry อยู่ที่ “reference data/ข้อมูลอ้างอิง ”
ความสำเร็จของการรักษาใรแผนภาพด้านล่างเป็นอัตราความสำเร็จของกุลพัฒน์คลินิก เทียบกับ ESHRE ในการทำ IVF, FET และ ED  โดยข้อมูลของทางเราถือว่าประสบความสำเร็จเมื่อสามารถตั้งครรภ์ถึงคลอดบุตรมีชีพได้ ไม่ใช่การตั้งครรภ์เพียงอย่างเดียว แต่ของ ESHRE รวมภาวะตายคลอดเอาไว้ด้วย



ตารางนี้ แสดงปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการตั้งครรภ์


Age >= 40 years

(% of patients)

verage no. embryos transferred

wins

(% of deliveries)

Kullapat

16.9%

2.6

21%

ESHRE

14.4%

2.0

20%


ข้อสรุป:
โดยสรุป เมื่อเทียบอัตราความสำเร็จของกุลพัฒน์คลินิกกับ ฐานข้อมูลของทางยุโรปแล้วพบว่า ผู้ป่วยของกุลพัฒน์มีอายุโดยเฉลี่ยที่มากกว่า มีการย้ายตัวอ่อนจำนวนมากกว่า อัตราการคลอดและการเกิดครรภ์แฝดไม่ต่างกัน อย่างไรก็ตามพบว่า การย้ายตัวอ่อนที่ผ่านการแช่แข็งมาก่อน (FET) ให้อัตราการประสบความสำเร็จน้อยกว่าการย้ายตัวอ่อนสู่โพรงมดลูกตามรอบปกติ  (ET) และการใช้ไข่บริจาค  (ED)


Back